Hetalia: Axis Powers - Liechtenstein

หน่วยที่ 4 ระบบการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์

ระบบการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์                                                
วิธีการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็นดังนี้                                    
1) วิธีการประมวลผลแบบออฟไลน์ (Off-line Processing)                                    
วิธีการประมวลผลแบบออฟไลน์ หมายถึงการประมวลผลที่มีการทำงานในลักษณะการเตรียมการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประมวลผล โดยใช้อุปกรณ์อินพุต และอุปกรณ์เอาต์พุต ทำการบันทึกโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลลงบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและนำข้อมูลนั้นส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลต่อไป                                                                          
2) วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing)                                            
วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ หมายถึงการประมวลผลที่ใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ห่างไกลแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ วิธีการประมวลผลลักษณะนี้ เมื่อทำการประมวลผลเสร็จแล้ว จะเห็นผลลัพธ์ทันที ตัวอย่างเช่น ระบบการบริการฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารต่างๆ                          
3) วิธีการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)                                                    
วิธีการประมวลผลแบบกลุ่ม หมายถึงการประมวลผลโดยการจัดรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แล้วจึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานประมวลผลครั้งเดียว ซึ่งขั้นตอนการประมวลผล จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น ระบบการลงทะเบียนของนักศึกษา                                                                                    
- นักศึกษาแต่ละคนทำการกรอกแบบฟอร์มการลงทะเบียน                                                
- ฝ่ายทะเบียน ทำการรวบรวมใบลงทะเบียน                                                                
- ป้อนข้อมูลจากใบลงทะเบียนทั้งหมด เก็บไว้ในแผ่นดิสก์เก็ต                                    
- ทำการประมวลผลโดยใช้ข้อมูลในแผ่นดิสก์เก็ต                                                            
- จัดทำรายงานต่างๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                                                    
4) วิธีประมวลผลแบบแบ่งเวลา (Time Sharing Processing)                                          
วิธีประมวลผลแบบแบ่งเวลา หมายถึงการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์พร้อมๆ กันได้หลายคน (Multi-user)                                                                    
ลักษณะการทำงานแบบนี้คอมพิวเตอร์จะมีหน่วยประมวลผลกลางเพียงตัวเดียว สามารถทำงานในเวลาหนึ่งๆ ได้ 1 งานเท่านั้น แต่ใช้เทคนิคการแบ่งเวลาให้กับผู้ใช้แต่ละคนหมุนเวียนกันไปอย่างต่อเนื่องเช่นแบ่งเวลาใช้คนละ0.05วินาทีซึ่งเร็วมาก ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนรู้สึกเหมือนทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องเสียเวลารอคอย                                                                          
5) วิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง (Real Time Processing)                                          
วิธีประมวลผลแบบเวลาจริงหมายถึงการประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีตัวอย่างเช่นการใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่างๆ                  

6) วิธีการประมวลผลแบบหลายโปรแกรมหรือมัลติโปรแกรมมิง (Multiprogramming)                
วิธีการประมวลผลแบบหลายโปรแกรม หมายถึงการประมวลผลที่ทำให้ผู้ใช้หลายๆ คนสามารถทำงานพร้อมๆ กันได้ โดยการแบ่งหน่วยความจำออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า Partition โดยที่งานของผู้ใช้แต่ละงานจะใช้หน่วยความจำในส่วน Partition ที่กำหนดให้เท่านั้น ซึ่งขนาดของ Partition ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน  หลักการทำงานของวิธีการประมวลผลแบบหลายโปรแกรม เนื่องจากหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วในการทำงานมากกว่าหน่วยรับข้อมูล และหน่วยส่งข้อมูลออก ดังนั่นในการทำงานหนึ่งๆ จะเกิดเวลาว่างของหน่วยประมวลผลกลาง ระหว่างรอรับข้อมูลเข้าหรือรอการส่งข้อมูลออก ดังนั้นการคิดระบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหุนเวียนหลายๆ งาน โดยใช้ช่วงเวลาว่างของหน่วยประมวลผลกลาง ขณะที่งานหนึ่งงานใดรอข้อมูลหรือรอการส่งข้อมูลออก การทำงานลักษณะนี้ เรียกว่า การทำงานแบบหลายโปรแกรม



รูปที่ 2.2 แสดงการแบ่ง Partition ในหน่วยความจำ

7) วิธีการประมวลผลแบบมัลติโพรเซสซิง (Multiprocessing)                                          
วิธีการประมวลผลแบบมัลติโพรเซสซิง หมายถึงการประมวลผลที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางหลายๆ ตัว ทำงานร่วมกันและพร้อมๆ กัน เพราะงานบางอย่างต้องการความเร็วเป็นพิเศษในการประมวลผล ทำได้โดยการติดตั้งหน่วยประมวลผลกลางเพิ่มเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หากหน่วยประมวลผลกลาใดเสีย ระบบก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น