1) การเตรียมข้อมูลนำเข้า (Input Data)
การเตรียมข้อมูลนำเข้า เป็นขั้นตอนของการเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมจะทำการประมวลผล โดยข้อมูลเหล่านี้อาจได้มาจากการสัมภาษณ์ การจดบันทึก การสังเกต หรือข้อมูลจากแบบฟอร์มต่างๆ
การเตรียมข้อมูลนำเข้า แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้
- การลงรหัส (Coding)
เป็นการใช้รหัสแทนข้อมูลทำให้ข้อมูลอยู่มนรูปแบบที่กะทัดรัดสะดวกในการประมวลผลเช่นข้อมูลเพศของนักศึกษาแบ่งออกเป็น
M หมายถึง เพศชาย
F หมายถึง เพศหญิง
- งานบรรณาธิการเบื้องต้น (Preliminary Editing)
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล หากข้อมูลมีข้อผิดพลาดก็ทำการปรับปรุงแก้ไข
- การแยกประเภท (Classifying)
เป็นการจัดประเภทข้อมูลให้เป็นกลุ่มตามลักษณะของข้อมูล เพื่อสะดวกในการนำไปประมวลผล
- การบันทึกข้อมูลในสื่อที่เหมาะสม
เป็นการบันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์เพื่อนำไปใช้ในการประมวลผล เช่น การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์เก็ต
2) การประมวลผล (Processing)
การประมวลผล หมายถึงการนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาทำการประมวลผล โดยกรรมวิธีใดกรรมวิธีหนึ่ง หรือหลายกรรมวิธี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้งานได้
3) การแสดงผลลัพธ์ (Output)
การแสดงผลลัพธ์ หมายถึงการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาใช้งานในด้านต่างๆ รวมถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารต่างๆด้วย
รูปที่ 2.1 แสดงขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล
ตัวอย่างที่ 2.1 การคำนวณหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า เมื่อกำหนดค่าความกว้างและค่าความยาว
ข้อมูลนำเข้า
- ค่าความกว้าง
- ค่าความยาว
การประมวลผล
- คำนวณ พื้นที่ = ค่าความกว้าง x ค่าความยาว
ผลลัพธ์
- พื้นที่ที่คำนวณได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น